ชิปปิ้ง พิกัดศุลกากร HS CODE สำคัญอย่างไรในการนำเข้า ?

ชิปปิ้ง พิกัดศุลกากร HS CODE สำคัญอย่างไรในการนำเข้า-Yalelogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง พิกัดศุลกากร HS CODE สำคัญอย่างไรในการนำเข้า ?                                                            HS CODE                                                                       Yalelogistics 768x402

ชิปปิ้ง ทำความรู้จักกับ HS CODE (Harmonized System) หรือพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ อันเป็นระบบการจำแนกประเภทสินค้า

 เพื่อใช้แทนความหมายของสินค้าในแต่ละประเภท และใช้ในการตรวจสอบการจัดเก็บภาษี

นำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศ 

       เนื่องจากแต่ละประเทศมีสินค้าที่หลากหลายและมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เพื่อกำหนดให้เข้าใจตรงกันเป็นระดับสากลที่เกี่ยวกับประเภทและชนิดสินค้านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้การระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ที่สากลยอมรับ ซึ่งสามารถจำแนกประเภทสิ่งของต่างๆ ได้ออกเป็น 21 หมวด 97 ตอน และกว่า 5,000 ประเภทพิกัด แบ่งได้ดังนี้

  • วัตถุดิบ 508 รายการ (0-1 %)
  • กึ่งสำเร็จรูป 2,124 รายการ (3-5 %)
  • ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 2,754 รายการ (10-40 %)

         แต่ละรายการจะระบุด้วยรหัสพิกัดศุลกากร 6 หลักด้วยกัน เลขพิกัดนี้ สามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ของกรมศุลกากร คลิกที่นี่

       นอกจาก HS Code แล้ว ในการนำไปใช้งานจริงจะมีการใช้ HTS Code หรือ พิกัดรหัสสถิติ ซึ่งหมายถึง ตัวเลข 11 ตัวที่ระบุสินค้าแต่ละรายการ เพื่อใช้ในระบบสากลและสื่อความหมายของพิกัด ประกอบไปด้วย ตอน ประเภท ประเภทย่อย และรหัสสถิติ ซึ่งสามารถแบ่งตัวเลขออกเป็นหมวดต่างๆ ได้ดังนี้

ตัวอย่างเช่น  2907.10.00 101

        1. เลข 4 ตัวแรก 2907

         มาจากเลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร จะเป็นประเภท (Heading No.) แยกได้ดังนี้

  • 2 ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ “ตอน”
  • 2 ตัวหลังเป็นเลขลำดับของ “ประเภท” ที่อยู่ในตอนนั้น

         2. เลข 4 ตัวต่อมา 10.00 

     เป็นลำดับของ ประเภทย่อย (Subheading No.) ประกอบไปด้วย

  • เลข 2 ตัวแรก เป็นเลข 2 ตัวที่เหลือจากเลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร
  • เลข 2 ตัวหลัง เป็นประเภทย่อยระบบพิกัด

          3. เลข 3 ตัวสุดท้าย 101

          เป็นเลขรหัสสถิติ (Statistics code) ซึ่งเป็นรหัสสินค้า (Code for goods) และรหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) โดยตัวเลข 3 หลักสุดท้าย จะเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ 

           HS Code ใช้ในการกำหนดอัตราภาษีทั้งขาเข้าและขาออก แต่ที่ประเทศไทยส่วนใหญ่จะเสียภาษีขาเข้ามากกว่าขาออก ซึ่งหากกำหนด HS Code ได้ถูกต้องจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรหรือการใช้ฟอร์มลดหย่อนภาษี  FTA ต่างๆ ได้ รวมทั้งเมื่อทราบอัตราภาษีอากรชัดเจนจะสามารถนำมาคำนวณต้นทุนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งสามารถค้นหาพิกัดศุลกากรหรือรหัสพิกัดสินค้าได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์กรมศุลกากร, แอปพลิเคชันของกรมศุลกากร(HS Check), ตัวแทนออกของหรือชิปปิ้งที่มีความเชี่ยวชาญระบุพิกัดสินค้าให้หรือสามารถยื่นคำร้องสอบถามที่สำนักพิกัดอัตราศุลกากร กรมศุลกากรได้

            Yalelogistics บริษัทนำเข้าสินค้าจากจีน ที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยอย่างถูกกฏหมาย บริการเดินพิธีศุลกากรด้วยเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง สามารถออกใบ Form E ที่ใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้า FTA ได้ต่ำสุด 0% พร้อมใบกำกับภาษีและเอกสารนำเข้าต่างๆ รวมทั้งสามารถติดตามสินค้าตั้งแต่จีนถึงไทยได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันหรือติดต่อสอบถามผ่านระบบ Call Center ได้ทุกวันเวลา 9.00-18.00 น. 

ที่มา: vayoit/fastship

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *