ชิปปิ้ง ข้อดี&ข้อเสียของการขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL)

ชิปปิ้ง ข้อดี&ข้อเสียของการขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL) ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ข้อดี&ข้อเสียของการขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL) LCL 1 768x402

ชิปปิ้ง การขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้ Less Container Load (LCL)

ชิปปิ้ง การขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้  (LCL)หรือการแชร์พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ร่วมกับผู้สั่งสินค้าเจ้าอื่นๆ

ซึ่งการขนส่งแบบ LCL เหมาะกับคนที่สั่งสินค้าปริมาณน้อย หรือผู้ขายที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจนำเข้าสินค้า และคนที่ไม่มีโกดังเก็บสินค้า

ชิปปิ้งการใช้บริการชิปปิ้งขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้ Less than Container Load (LCL)หรือการแชร์พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ร่วมกับผู้สั่งสินค้าเจ้าอื่นๆ โดยใน1 ตู้คอนเทนเนอร์ จะมีสินค้าของผู้สั่งสินค้าหลายราย ในกรณีที่ผู้ขายต้องการสั่งสินค้าในจำนวนน้อย ไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าจนเต็มตู้ได้ ไม่ต้องการสต๊อกของจำนวนมาก หรือ สั่งผลิตตามจำนวนที่ขาย การขนส่งแบบ LCL เหมาะกับคนที่สั่งสินค้าปริมาณน้อย หรือผู้ขายที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจนำเข้าสินค้า และคนที่ไม่มีโกดังเก็บสินค้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้สั่งสินค้าควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ข้อดี & ข้อเสียของ “เทอมขนส่ง”หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ขาย และ ผู้ซื้อสินค้า (Incoterms)

ชิปปิ้ง ข้อดี&ข้อเสียของการขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL) ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ข้อดี&ข้อเสียของการขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL) 91  

ข้อดีของการขนส่งแบบไม่เต็มตู้ Less than Container Load (LCL)  

เหมาะกับการส่งสินค้าจำนวนไม่มาก (และไม่น้อยเกินไป) และไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งตู้ Container การมีเงื่อนไขแบบ LCL ช่วยให้ผู้ส่งออก สามารถส่งออกสินค้าได้ครั้งละไม่มากได้โดยไม่จำเป็นต้องเหมา container ทั้งตู้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมหาศาล ในขณะที่การส่งสินค้าครั้งละมากๆ (แต่ไม่มากพอที่จะเต็มตู้ container ก็สามารถส่งได้คุ้มกว่าการใช้บริการส่งทั้วไปที่มีต้นทุนสูง)

ข้อเสียของการขนส่งแบบไม่เต็มตู้ Less than Container Load (LCL) 

  การที่ต้องใช้ตู้ container ร่วมกับผู้อื่น นั่นหมายความว่า ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้ container จะต้องขนสินค้าไปที่ container yard (CY) เพื่อบรรจุสินค้า โหลดสินค้าใส่ตู้ container พร้อมกับเจ้าอื่นๆ ที่่เช่าพื้นที่ในตู้ Container นั้นด้วย ทำให้บางครั้งปัญหาที่ตามมาจากการใช้ LCL คือต้องรอว่างพร้อมกัน และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการขนสินค้าไป container yard (CY)  ซึ่งการคำนวณค่าขนส่งแบบไม่เต็มตู้ LCL มีดังนี้

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

การหาค่า Dimension (ขนาดของสินค้า) หาได้จากการวัด ความกว้าง × ยาว × สูง ของหีบห่อบรรจุสินค้า แล้วนำค่า Dimension ที่ได้
มาหารด้วย 1,000,000 = ปริมาตรสินค้า ( มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร)

( กว้าง × ยาว × สูง ) ÷ 1,000,000 = ปริมาตรสินค้า 1 หีบห่อ
แล้วนำ ปริมาตรของสินค้า × ราคาต่อลูกบาศก์เมตร = ค่าใช้จ่ายในการขนส่งแบบ LCL

***ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขนสินค้าไปยัง Contrainer Yard (CY)***

อัตรค่าบริการขนส่งเพิ่มเติม >>คลิก<<

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

ชิปปิ้ง ข้อดี&ข้อเสียของการขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL) ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ข้อดี&ข้อเสียของการขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL) 1281

การขนส่งทางรถในยุคนี้ มีทั้งการขนส่งแบบไม่เต็มตู้ Less than container Load (LCL) และ การขนส่งแบบเต็มตู้Full Container Load (FCL) ซึ่งการขนส่งแต่ละแบบ ก็เหมาะกับสินค้าแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน Yalelogistics เปรียบเทียบข้อแตกต่างกันระหว่าง LCL กับ FCL ไว้ดังนี้

ความแตกต่างระหว่างการขนส่งแบบไม่เต็มตู้ Less than Container Load (LCL)และ การขนส่งแบบต็มตู้ Full Container Load (FCL)

Full Container Load (FLC) คือการขนส่งสินค้าแบบเต็มตู้ คือการเช่าตู้ Container ทั้งตู้สำหรับผู้ที่มีโกดังเก็บสินค้า และสั่งสินค้าจำนวนมาก โดยมีผู้สั่งสินค้าเพียงเจ้าเดียวไม่แชร์พื่นที่ขนสินค้ากับเจ้าอื่นๆ

ข้อดีของ Full Container Load (FCL) 

สามารถเคลียร์สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรได้เร็วกว่า แบบ LCL เมื่อเคลียร์สินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถขนส่งโดยลากตู้ออกไปได้เลย เนื่องจากไม่ต้องรอกำหนดเวลาเปิดตู้แบบ LCL ไม่ต้องใช้คลังสินค้าหรือศูนย์กระจาย ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย รวดเร็ว ไม่ต้องแวะส่งสินค้าจุดอื่นระยะทางขนส่งสั้นไม่ต้องผ่านศูนย์กระจายสินค้า Container yard (CY) สามารถเลือกเส้นทางขนส่งที่สั้นได้

ข้อเสียของ Full Container Load (FCL)

อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการขนส่งแบบเต็มตู้ LCL เนื่องจากเป็นผู้สั่งสินค้าเพียงเจ้าเดียว และหากสินค้ามีปริมาณน้อย ไม่เต็มตู้ ก็อาจจะขาดทุนได้

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้บริการขนส่งชิปปิ้ง แบบ LCL หรือ FCL นั้น ควรพิจารณาในหลายๆ องค์ประกอบ เช่น ประเภทของสินค้า ปริมาณสินค้า ระยะเวลา ราคา ฯลฯ มาประกอบ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้นำเข้า – ส่งออก