ชิปปิ้ง ในยุคดิจิทัล นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในระบบอุตสาหกรรมการขนส่งโลจิสติกส์ 4.0 โดยเฉพาะด้านการติดต่อสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ด้วยสภาวะการเคลื่นไหวทางเศรษฐกิจโลก หรือแม้แต่ในประเทศไทยเองก็ตาม ส่งผลให้หลายๆ ธุรกิจกำลังเผชิญปัญหา แต่ดูเหมือนว่าระบบโลจิสต์ติกส์ยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่า E-Commerce จะเข้ามาเปลี่ยนวงการค้าปลีกแบบเดิม ให้ก้าวไปสู่การซื้อขายและชำระเงินผ่านออนไลน์ แต่การส่งมอบสินค้าจากผู้ขายให้ถึงมือผู้ซื้อ ยังคงต้องพึ่งพาการขนส่งสินค้า ดังนั้น ยิ่งการซื้อขายเกิดขึ้นง่ายดายบนโลกออนไลน์มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเกิดความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้ามากขึ้นเท่านั้น จึงกลายเป็นโอกาสทองของธุรกิจโลจิสติกส์ที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจ SME ให้เติบโตไปพร้อมๆกัน
ธุรกิจขนส่ง (โลจิสติกส์) กับการปรับตัวสู่ Digital Transformation
ชิปปิ้ง เป็นธุรกิจกลุ่มแรกๆ ที่มีการลงทุนในเทคโนโลยีหลากหลายระบบ เนื่องจากกระบวนการขนส่ง ถือเป็นกระบวนการใหญ่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ทำหน้าที่ควบคุมงานขนย้าย รวบรวม และกระจายสินค้าและบริการ จากต้นทางไปสู่ปลายทาง ซึ่งมีตัวแปรหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า สินค้า คลังสินค้า จุดกระจายสินค้า และรถขนส่งสินค้า คลิกอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการชิปปิ้ง ขนส่งสินค้าจากจีนมาไทย เงื่อนไขการใช้บริการ
ดังนั้น ธุรกิจจะบริหารจัดการโมเดลธุรกิจอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่องานมีความซับซ้อนหลายจุดส่ง อีกทั้งยังมีลูกค้า สินค้า พนักงานขับรถและรถขนส่งจำนวนมาก การจัดการธุรกิจขนส่งแบบดั้งเดิมที่มีความเสี่ยงต่อการผิดพลาด ความล่าช้าและจากการใช้แรงงานมนุษย์เป็นจำนวนมากคงไม่เพียงพออีกต่อไป
ปัจจุบันโมเดลธุรกิจการขนส่งโลจิสติกส์ในยุคดิจิทัล สามารถจัดการรถขนส่งได้เร็วกว่าแรงคน เพิ่มความปลอดภัยของสินค้า ลดอุบัติเหตุจากการขนส่ง ลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง และส่งสินค้าได้ถูกต้องตรงต่อเวลา ทว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งโลจิสติกส์ให้เป็นระบบดิจิตอล ก็ยังคงจำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ควบคู่กันไป เนื่องจากธรรมชาติของลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่พวกเขารู้จัก เชื่อถือและไว้วางใจได้
Digital Logistics กับการเปลี่ยนแปลงการค้าระหว่างประเทศ
การเปลี่ยนแปลงด้านการค้าระหว่างประเทศที่เห็นได้อย่างเด่นชัด เช่น จำนวนเที่ยวรถไฟสำหรับขนส่งจากสหภาพยุโรปไปยังประเทศจีน จาก 17 เที่ยวในปี 2011 เพิ่มเป็น 3673 เที่ยวในปี 2017 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของการค้าระหว่างจีนและสหภาพยุโรปนั้น นำมาซึ่งการลงทุนในเส้นทางที่ผ่าน รวมถึงระบบขนส่งภาคพื้นดิน ข้อตกลงด้านพื้นที่การค้าเสรี ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงของตลาดภายในประเทศ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ เช่น มีการพัฒนา E- Commerce และ Sahring Economy (เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน) Solution ถูกผลักดันโดยการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของผู้บริโภคและสังคมผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของตลาดออนไลน์ทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ รวมถึงการแบ่งปันทรัพยากร โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ แบรนด์ชั้นนำมีความตื่นตัวและเริ่มเข้าสู่ตลาดออนไลน์ , ธุรกิจ E-Commerce มีการลงทุนในด้านโลจิสติกส์, บริษัทที่เป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ (CEP) ออกแบบ Solution ต้นแบบ Tailor-Made (ช่างตัดเสื้อ) สำหรับ E-Commerce เป็นต้น
เครื่องจักรผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขนส่งและ Logistics
ศักยภาพของเครื่องจักรนั้น สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งภาคการขนส่งและการให้บริการโลจิสติกส์ ซึ่ง Solution ในส่วนนี้จำเป็นต้องได้รับการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการความคิด ความใส่ใจ โดยศักยภาพของการเติบโตทางเทคโนโลยีนั้น นำมาซึ่ง Solution สำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพ รวมทั้งการออกแบบบริการใหม่ๆ อาทิ การใช้งานหุ่นยนต์ ยานยนต์หรือพาหนะไฟฟ้า อุปกรณ์ AR และ MR ระบบรางความเร็วสูง ยกระดับการขนส่งแบบ Last Mile
ผู้ประกอบการกับการปรับตัวสู่ยุค Digital Logistics
ปัจจุบัน การกอบการธุรกิจด้าน Logistics จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวเข้าหาสภาพการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งนอกเหนือไปจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยจัดการธุรกิจขนส่งชิปปิ้ง เพื่อช่วยบริหารต้นทุนขนส่งให้ต่ำลง ลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองให้มากที่สุด ยังรวมไปถึงการหมั่นพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ เพิ่มพูนทักษะความรู้ด้านอื่นๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับตลาดโลจิสติกส์ที่กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคตนั่นเอง
ที่มา : www.prachachat.net