ชิปปิ้ง หมายเลขตู้คอนเทนเนอร์ เป็นตัวเลขชุดบนผนังตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งด้านในและด้านนอก โดยหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์อาจมีทั้งตัวเลขล้วน หรือตัวเลขผสมตัวอักษรภาษาอังกฤษ ขึ้นอยู่กับระบบของบริษัทเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์นั้นๆ
หมายเลขตู้คอนเทนเนอร์ มีไว้สำหรับใช้บ่งบอกหรือแยกตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก รวมถึงการแยกขนาดของตู้คอนเทนเนอร์แต่ละชนิด เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการยกผิดตู้ เปรียบเสมือนบัตรประชาชนที่ใช้บ่งบอกความเป็นตัวตนนั่นเอง โดยประกอบไปด้วย 9 ส่วน ดังนี้
1. รหัสเจ้าของตู้
เป็นอักษรแทนชื่อบริษัทเจ้าของตู้ เช่น TNYU, CMAU, EGSU และ TCLU
2.รหัสระบุประเภท จะมีเพียง 1 ตัวที่อยู่ท้ายอักษรรหัสเจ้าของตู้ จากรูปภาพคือตัวอักษร U มีความหมายคือ ตู้คอนเทนเนอร์
3.รหัสการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์ มีระบุอยู่ 6 ตัว จากตัวอย่างคือ 759933
4.รหัสตรวจสอบความถูกต้อง
รหัสที่ตรวจสอบว่าเจ้าของตู้ ประเภทตู้และการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์นั้นถูกต้องหรือไม่
5.ขนาดและชนิดของตู้
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์จะมีอยู่ 4 ตัว ในที่นี้คือ 45G1
- เลข 4 ตัวแรก คือ ความยาวเท่ากับ 40 ฟุต
- เลข 5 ตัวถัด คือ ความสูงเท่ากับ 9 ฟุต 6 นิ้ว
- G1 คือ ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าทั่วไป
สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ (ในการขนส่ง) จะแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลักๆ ได้แก่
1) Dry Cargoes ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุสินค้าทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะ โดยต้องเป็นสินค้าที่ไม่ต้องรักษาอุณหภูมิ สินค้าที่เข้าตู้แล้วจะต้องมีการจัดทำที่กั้นไม่ให้มีสินค้าเลื่อนหรือขยับ หากใช้เป็นเชือกไนลอนรัดหน้าตู้ เรียกว่า Lashing
2) Refrigerator Cargoes เป็นตู้สินค้าที่มีเครื่องปรับอากาศในตัว จะต้องสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียสโดยเครื่องทำความเย็นนี้อาจติดอยู่กับตู้หรือมีปลั๊กเสียบจากนอกตู้และจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิแสดงสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้า
3) Open Top ตู้คอนเทนเนอร์แบบเปิดหลังคา ส่วนใหญ่มีขนาด 40 ฟุต ใช้สำหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ที่มีรูปทรงไม่แน่นอน เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งตู้ประเภทนี้จะไม่สามารถวางเรียงซ้อนกันได้
4) Flat-rack ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ มีขนาดกว้างและยาวตามขนาดของตู้สินค้ามาตรฐาน แต่จะเปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง ใช้บรรจุสินค้าที่มีลักษณะพิเศษและไม่สามารถบรรจุด้วยตู้ขนาดมาตรฐานได้ เช่น เครื่องยนต์อุตสาหกรรม แท่งหิน หัวรถจักร เครื่องจักรประติมากรรม รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ท่อชนิดต่างๆ เป็นต้น
6.พิกัดรับน้ำหนัก MAX. GROSS
น้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่รวมกับน้ำหนักของสินค้าที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถรับได้สูงสุด อาจจะแสดงข้อความ MAX. GROSS WGT., MX GR, MAX.GR. และ MAX.WT.
7. TARE
น้ำหนักของตู้เปล่า ที่ยังไม่ได้บรรจุสินค้าลงไป
8 . น้ำหนักสินค้าที่ตู้รองรับได้
โดยอาจเขียนว่า N.W., NET WEIGHT, MAX CARGO WGT และ PAYLOAD หมายถึงน้ำหนักของสินค้าสูงสุดที่สามารถบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์นั้นได้
9.CUBE หรือ CU CAP.
ปริมาตรสุทธิของตู้คอนเทนเนอร์
ดังนั้นหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์จึงมีส่วนสำคัญในการระบุข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดในการขนส่ง นอกจากนี้ ปัจจุบัน กรมการขนส่งทางบก ได้กำหนดให้รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ติดตั้งระบบ GPS Tracking เพื่อควบคุมน้ำหนักบรรทุกให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และบังคับใช้อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้า (Twist-Lock) เพื่อยึดตู้คอนเทนเนอร์กับตัวรถให้มั่นคงปลอดภัยตลอดระยะเวลาของการขนส่ง ทั้งนี้ ผู้นำเข้าควรเลือกบริษัทชิปปิ้งหรือ Freight Forwarderที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ เพื่อให้การขนส่งสินค้าได้มาตรฐาน ปลอดภัย และถูกกฎหมาย
Yale Logistics บริษัทขนส่งมืออาชีพที่ได้มาตรฐานสากล ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยทางรถ พร้อมดำเนินพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เอกสารนำเข้าทุกใบเป็นชื่อของลูกค้า ใช้ลดหย่อนภาษีได้ทุกฉบับ ติดตามสถานะสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและระบบ Call Center ให้บริการทุกวันตั้งแต่ 9.00-18.00 น.
ที่มา: www.lissom-logistics.co.th