จีน ไม่ได้เป็นเพียงประเทศ ที่เป็นผู้นำพัฒนาการทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึงด้านดิจิทัลที่ก้าวล้ำของโลก อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการค้าและการให้บริการทางด้านชิปปิ้งหรือโลจิสติกส์ ขนส่งข้ามประเทศอีกด้วย
โดยข้อมูลจากสมาคมดิจิทัลไทย ภายในงานเสวนา ‘BIG Change to BIG Change Future Economy & Internet Governance’ สรุปเทรนด์จีน ในปี 2020 ไว้อย่างน่าสนใจ ดังต่อไปนี้
- นครหางโจว เมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง 1 ใน 6 เมืองเก่าแก่ของประเทศจีน จะพัฒนากลายเป็นเมืองดิจิทัลเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้ และคนในเมืองก็กำลังจะกลายเป็นพลเมืองดิจิทัลไปในที่สุด เนื่องจากไม่ว่าจะทำอะไร ผู้คนในนครหางโจว จะใช้แอปพลิเคชั่นเป็นหลักในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร การซื้อตั๋วโดยสารรถไฟ รวมไปถึงการเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ ซึ่งต่อไปนี้ เราจะไม่เห็นคนจีนยืนอยู่ข้างทางกันอีกต่อไปแล้ว
- ประเทศจีนใช้ Big Data ในการทำนายอนาคต รวมไปถึงการหาลูกค้า (Big Data คือข้อมูลของลูกค้าที่ได้จากการลงทะเบียนใช้งาน จากการลงแอปพลิเคชั่น) ยกตัวอย่างสินค้าที่ขายในที่โจ่งแจ้งไม่ได้ เช่น เจลหล่อลื่น (18+) หากอยากทำตลาดในไทย แต่ไม่มี Data ของคนไทย ก็จะใช้วิธีโฟกัสกลุ่มผู้ชายในโลกโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก ซึ่งพบว่ามีชายไทย ที่คาดว่าเป็นลูกค้าสูงถึง 30% และในทางที่เป็นไปได้น่าจะหาได้มากกว่านั้น จึงมีการหาวิธีเพิ่มว่าใช้อัลกอริทึมหาชายไทยบนเฟซบุ๊กแบบไม่ระบุอายุ มีการให้ AI ในการช่วยค้นหาผู้ที่ชอบเปลี่ยนรูปโปรไฟล์บ่อยๆ (ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10 ครั้ง) และมักจะเป็นรูปโชว์กล้าม ผลลัพธ์ที่ได้คือช่วยให้เจอกลุ่มลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจริงๆ ถึง 70% เลยทีเดียว
- จีนให้ความสำคัญในการสร้างและพัฒนาคนเป็นอย่างมาก เช่น ส่งเสริมการสร้างทักษะผู้ประกอบการให้แก่ประชากรตั้งแต่วัยเรียน อาทิ นักศึกษามหาวิทยาลัยต้องมีการทำแอปพลิเคชั่นให้มีผู้ใช้งานไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน จึงจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ คือเน้นการเรียนภาคปฏิบัติ ทำจริง มากกว่าการเรียนแค่ทฤษฎีในห้องเพียงอย่างเดียว
- คนจีนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะที่เมืองหางโจวและเซินเจิ้น เริ่มหันมาใช้การสแกนจดจำใบหน้า Face Recognition แทนการใช้แอปพลิเคชั่น ตั้งแต่การก้าวเข้าประตูร้านค้า (บางร้าน) เมื่อระบบสแกนใบหน้าทำงานสำเร็จ จะมีการแสดงข้อความยินดีต้อนรับ จนกระทั่งเมื่อหยิบสินค้าจากชั้นวาง จนกระทั่งเดินออกจากร้าน ระบบจะทำการหักเงินในบัญชีได้อัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สมาร์ทโฟนสแกน QR Code ล่าสุดได้มีการแบ่งคนจีนเป็น ‘พลเมืองชั้นหนึ่ง’ กับ ‘พลเมืองชั้นสอง’ จากการใช้เทคโนโลยีกันเลยทีเดียว ว่ากันว่า กลุ่มคนที่ใช้เทคโนโลยี Face Recognition ในการชำระเงิน คือ กลุ่ม Mobileless Society ซึ่งเป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง ส่วนคนที่ยังใช้ QR Code ชำระเงิน คือกลุ่ม Cashless Society จัดให้เป็นพลเมืองชั้นสอง
- ปัจจุบัน ร้านค้าส่วนใหญ่ในประเทศจีน มีการติดตั้งแอปพลิเคชั่นในการชำระเงิน อีกทั้ง ยังสนับสนุนให้ร้านค้าอื่นๆ และผู้ประกอบการชาวไทย ได้มีการติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพื่อรับชำระเงินจากคนจีน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชากรจีนใช้จ่ายได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (อ่านข้อดีของการมี Application สำหรับองค์กร รวมไปถึงการติดตั้งแอปพลิเคชั่นของบริษัทชิปปิ้งในเมืองไทยหลายราย อาทิ Yalelogistics, Shippingyou โดยบริษัทชิปปิ้งเหล่านี้ ต่างเป็นบริษัทชั้นนำที่ให้บริการด้านชิปปิ้ง ขนส่งสินค้าจากจีนมาไทยที่มีชื่อเสียง และได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ ธนาคารกลางของจีน (Central Bank Digital Currency : CBDC) ยังได้เตรียมออก ‘เงินสกุลดิจิทัล’ หรือ เงินตราชนิดใหม่ ที่ออกโดยธนาคารกลาง และได้รับการค้ำมูลค่ากับทางสินทรัพย์ ที่สถาบันการเงินพาณิชย์ฝากไว้ในธนาคารกลาง จึงทำหน้าที่ได้เสมือนกับหลักทรัพย์ตามกฎหมาย มีข้อมูลเปิดเผยอีกว่า ‘เงินสกุลดิจิทัล’ จะถูกใส่ไว้ในกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมโดยตรงและแบบระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) ซึ่ง ‘กระเป๋าเงิน’ ที่ว่าอาจเป็นแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนระหว่างการออกแบบ
อย่างไรก็ตาม เงินสกุลดิจิทัลดังกล่าว ยังเป็นเพียงการทดสอบระบบที่อยู่ในวงจำกัด มีการจำลองการชำระเงิน โดยมีสถาบันการเงินพาณิชย์และที่ไม่ใช่ของรัฐบาลบางส่วนเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ด้วย และในช่วงแรก สกุลเงินดิจิทัลจากธนาคารกลางจะถูกใช้งานเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนเดียวกันกับเงินปกติ ทั้งนี้สกุลเงินดิจิทัล จะถูกนำมาแทนที่ธนบัตรและเหรียญ ซึ่งเป็นเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (Cash in circulation) อีกด้วย และเราคงต้องจับตาดูความเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยใจจดจ่อ