ชิปปิ้ง หนึ่งในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด้วย ที่ได้มีการนำแนวคิด Green Logistics มาใช้ในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในปัจจุบันกระแสสีเขียวกำลังมาแรงและเทคโนโลยีสีเขียวเหล่านี้ได้แทรกซึมเกือบทุกพื้นที่
โดยมุ่งเน้นการลดมลพิษทางอากาศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดการเผาผลาญน้ำมันจากรถบรรทุกและการใช้ระบบการขนส่งในรูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างที่น่าทึ่งของการนำแนวคิด Green Logistics มาใช้ คือ DHL ที่ได้พยายามยับยั้งการผลิตก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการทำงานทั้งหมดภายใต้ข้อกำหนดของพิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นหนึ่งในสนธิสัญญาที่ลงนามโดย 192 ประเทศ เพื่อลดระดับก๊าซเรือนกระจก ที่ปล่อยออกมาจากอุตสาหกรรมในประเทศของตน อนึ่งเยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้สัตยาบันและมีเป้าหมายในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Deutsche Post DHL ก่อตั้งในประเทศเยอรมนี ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อมและมีส่วนช่วยให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีของโลก ทำให้เป็นบริษัทโลจิสติกส์รายแรกที่รับภาระในการลดระดับก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ทั้งหมด ตลอดจนการซื้อยานพาหนะไฟฟ้าจากผู้ผลิต Street Scooterในปี 2014 เพื่อผลิตรถยนต์ของตัวเอง ที่ใช้แหล่งพลังงานสะอาด ซึ่งมีการดำเนินการเต็มรูปแบบในไตรมาสที่สองของปี 2561 โดยจัดทำโครงการปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อาทิ
– คำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทั้งหมด (เมื่อลูกค้าเลือกใช้ DHL Go Green) และจัดทำรายงานคาร์บอนที่ครอบคลุม
– รายงานแผนที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดของ DHL และยังแสดงบนแผงควบคุมคาร์บอนออนไลน์ที่สามารถทำแผนที่การปล่อยมลพิษได้ไม่เกินระดับการจัดส่งแต่ละครั้ง
– ออกใบรับรองประจำปีเพื่อประโยชน์สาธารณะและการตรวจสอบบุคคลที่สามที่ได้รับอนุญาตสำหรับการปล่อย
– ตัวเลือกด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกมากมายที่เหมาะสำหรับธุรกิจ เช่น การจัดการขยะ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตและผู้นำหุ้นส่วนด้านสิ่งแวดล้อม
DHL ยังมีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศให้ดีขึ้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซคาร์บอนและสร้างขอบเขตการขนส่งสีเขียว ได้แก่
1. เนื่องจากสามารถบรรลุเป้าหมายของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 30% ที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2563 ได้สำเร็จตั้งแต่ปี 2559 จึงมีเป้าหมายใหม่อยู่ที่ 50% สำหรับปี 2568
2. เป้าหมายระยะยาวคือการบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็น 0 ภายในปี 2593
3. จ้างยานพาหนะและจักรยานไฟฟ้า เพื่อลดมลพิษทางอากาศในท้องถิ่นในไมล์สุดท้าย 70%
4. สร้างห่วงโซ่อุปทานของลูกค้าให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า 50% โดยช่วยให้พวกเขาใช้ Green Solutions ร่วมกัน
5. เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนเพื่อปกป้องป่าไม้และปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้นทุกปี
นอกจากนี้ยงได้จัดทำโครงการ DHL Go Green และเริ่มใช้ Mybill ใหม่ (e-bill) แทนการใช้ใบเรียกเก็บเงินกระดาษแบบดั้งเดิมอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการประทับตราค่าธรรมเนียม 3 ดอลล่าร์สำหรับทุกบิลกระดาษที่มีการร้องขอด้วย สำหรับข้อดีของ Mybill ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ
– มีตัวเลือกการชำระใบแจ้งหนี้ออนไลน์ได้หลากหลายช่องทาง
– มีการแจ้งเตือนใบแจ้งหนี้ใหม่ทางอีเมล
– สามารถตรวจสอบประวัติการชำระเงินออนไลน์ได้
– มีแดชบอร์ดที่สามารถติดตามบัญชีของ DHL ได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบใหม่นี้ได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2018 เป็นต้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า DHL ใช้ตัวเลือกในการเรียกเก็บเงินด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและลูกค้าได้รับการสนับสนุนหรือผลักดันให้เลือกการเรียกเก็บเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่พวกเขายินดีที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับค่ากระดาษ
DHL จึงถือว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยกย่องในความพยายามเข้าสู่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์สีเขียว โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและได้พยายามโน้มน้าวให้อุตสาหกรรมในห่วงโซ่อุปทานทำตามแนวคิดนี้ รวมทั้งมีการใช้นวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรม ทำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนสำหรับผู้ให้บริการขนส่งรายใหญ่อื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา เช่น FedEx และ UPS
นอกจากนี้ Green Logistics ยังเข้ามามีส่วนสำคัญในแวดวงการขนส่งในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีนและไทย ยกตัวอย่างเช่น Yalelogistics หนึ่งในอุตสากรรมการขนส่งชั้นนำสัญชาติไทย ที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน ปัจจุบันได้พัฒนาระบบขนส่งให้มีความทันสมัยและสนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการให้บริการชิปปิ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ลดการใช้กระดาษ ตลอดจนมีระบบติดตามสินค้าผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งมีทีมงานมืออาชีพคอยให้บริการ ช่วยลดการทำงานซ้ำซ้อนและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ใช้บริการชิปปิ้งและอยู่ในห่วงโซ่อุปทานจึงต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือกับมาตรการเหล่านี้ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเท่าทันและและเป็นที่ยอมรับของคู่ค้านานาประเทศ
ที่มา: lateshipment.com