ชิปปิ้ง ในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา ปัญหาที่ธุรกิจต้องประสบพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และยากต่อการคาดเดา
นั่นคือ การบริหารสินค้าคงคลัง อันเกิดจากการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้ากักตุนไว้ในปริมาณมากๆ เพื่อลดความถี่ในการช้อปปิ้งลง
ดังนั้นการจัดการโลจิสติกส์ในช่วงสถานการณ์วิกฤต จึงต้องเน้นย้ำความสำคัญแยกตามกิจกรรมโลจิสติกส์ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในแต่ละด้าน
วันนี้ Yale Logistics จึงได้รวบรวมแนวทางการจัดการโลจิสติกส์ในช่วงวิกฤต จาก รองศาสตราจารย์ ดร. สถาพร โอภาสานนท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้ธุรกิจและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
1. การบริการลูกค้า
มุ่งเน้นการจัดหาสินค้าที่มีความจำเป็นและอุปสงค์สูงในช่วงที่เกิดวิกฤต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยใช้การวิเคราะห์ ABC กับข้อมูลยอดขายเพื่อจัดลำดับความสำคัญของสินค้า พร้อมทั้งเตรียมแผนการจัดหาสินค้าทดแทน ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสินค้าที่มีอุปสงค์สูง เพื่อบรรเทาความต้องการของลูกค้าเวลาที่สินค้าขาดแคลนและให้ลูกค้ามีทางเลือกเพิ่ม รวมทั้งใช้ช่องทางออนไลน์ในการสื่อสาร รับข้อร้องเรียน รวมถึงติดตามกระแสความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง
2. การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และการดำเนินการด้านการสั่งซื้อ
ใช้ช่องทางออนไลน์ในการรับคำสั่งซื้อ เพื่อความรวดเร็วและความคล่องตัวในการตอบสนองความต้องการ รวมถึงสื่อสารข้อมูลกับลูกค้าด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง กระชับ เข้าใจง่ายและตรงประเด็น นอกจากนี้ธุรกิจต้องให้ข้อมูลการติดตามสถานะการจัดส่งและการติดตามสถานะย้อนหลังเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าด้วย
3. การจัดซื้อจัดหา
ธุรกิจต้องเลือกสรรจัดหาวัตุถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปจากซัพพลายเออร์ที่มีความใส่ใจและมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตลอดกระบวนการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ธุรกิจควรกระจายความเสี่ยงโดยใช้ซัพพลายเออร์หลายรายและมาจากหลากหลายแหล่ง เพื่อป้องกันการหยุดชะงักของสายการผลิต รวมถึงธุรกิจเองควรสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์เจ้าหลัก โดยการแชร์ข้อมูลยอดขายในแต่ละวันและคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้า เพื่อให้ซัพพลายเออร์สามารถใช้วางแผนการผลิตและเตรียมพร้อมสินค้าในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงได้
4. การขนถ่ายสินค้าและการบรรจุภัณฑ์
ธุรกิจควรจัดพื้นที่จุดขนถ่ายสินค้าให้มีอากาศถ่ายเท โดยเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่เพียงพอ เพื่อไม่ให้เกิดความแออัดและควรแยกออกมาจากพื้นที่ปฏิบัติการส่วนอื่น ๆ พิจารณาลดขั้นตอนการขนถ่ายสินค้าและการสัมผัสตัวสินค้าในขั้นตอนการขนถ่ายให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันสินค้าปนเปื้อนเชื้อโรค หากมีความจำเป็นให้สวมใส่ถุงมือยางและหน้ากากอนามัยตลอดเวลาการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ควรสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคโดยการบรรจุหีบห่อที่สามารถแกะออกง่ายเพิ่มอีกชั้นโดยใช้วัสดุที่เชื้อไวรัส COVID-19 อยู่ได้ไม่นานและเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้
5. การขนส่ง
ในการขนส่ง ธุรกิจควรเน้นการกระจายสินค้าแบบ Direct Shipment หรือการขนส่งตรงจากโรงงาน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการขนส่งและลดขั้นตอนในการขนถ่ายลำเลียงสินค้า โดยอาจใช้ยานพาหนะขนาดเล็ก สำหรับการขนส่งช่วง Last Mile เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้ารวมทั้งรักษาความสะอาดยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง โดยทำการฆ่าเชื้อเป็นประจำ อ่านต่อได้ที่ How To จัดการกับความล่าช้าในการขนส่ง
6. การจัดการสินค้าคงคลัง
ในช่วงวิกฤตนั้น ธุรกิจต้องรักษาระดับปริมาณสินค้าคงคลังให้มีเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าเสมอ โดยการเพิ่มจำนวนรอบการเติมเต็มสินค้าและปริมาณสินค้าที่เติมเต็มต่อครั้งให้มีความสอดคล้องกับ อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการนำส่งที่อาจจะยาวนานมากขึ้นกว่าปกติ รวมถึงจำกัดปริมาณการซื้อสินค้าของลูกค้าต่อคนต่อครั้ง สำหรับสินค้าที่มีความต้องการสูงแต่มีปริมาณจำกัด เพื่อลดการกักตุนสินค้าและการขาดแคลนสินค้า
นอกจากนี้ การเลือกใช้บริการบริษัทชิปปิ้งหรือโลจิสติกส์ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยเลือกบริษัทขนส่งที่ได้มาตรฐานสากลที่มีทรัพยากรและความสามารถในการบริหารการจัดส่งได้ดี ไม่เกิดข้อผิดพลาด อาทิ Yale Logistics ที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย ให้บริการเดินพิธีการศุลกากรพร้อมเอกสารนำเข้าครบถ้วน สามารถจัดทำ Form E ใช้ลดหย่อนภาษีต่ำสุด 0% พร้อมให้บริการขนส่งภายในประเทศจากโกดังถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างประสบการณ์การขนส่งที่ดีที่สุดได้แล้ววันนี้
เรียบเรียงข้อมูลจาก: www.tbs.tu.ac.th