ชิปปิ้งเป็นหนึ่งในรูปแบบการขนส่งที่เรียกว่า Logistics
ซึ่งเป็นกระบวนการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมให้สามารถบริหารจัดการและจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังที่ยังดำเนินการอยู่ สินค้าสำเร็จรูป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลคุ้มค่า จากแหล่งต้นทางไปจนถึงปลายทางเพื่อการบริโภคของผู้บริโภค
อีกทั้งชิปปิ้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กันด้วย
การใช้พลังงานในกระบวนการผลิตและการบริหารงานเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นเฉพาะการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก หลายประเทศเริ่มตื่นตัวและเล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดจากอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่ง เช่น มลภาวะทางอากาศ จึงนำไปสู่แนวคิดการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือที่เรียกว่า “Green Logistics”
Green Logistics คือการดำเนินงานด้านการขนส่ง ที่มุ่งเน้นการลดมลพิษทางอากาศ อันเนื่องมาจากก๊าซ Carbon dioxide (CO2) ซึ่งเกิดการเผาผลาญน้ำมันจากรถบรรทุก และการใช้ระบบการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ การลดต้นทุนในระบบโลจิสติกส์โดยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ศูนย์กระจายสินค้า ที่ทำให้จำนวนรอบการขนส่งสินค้าลดลงได้ การทำ Repackaging และ Re-used Packaging ในศูนย์กระจายสินค้า ก็สามารถทำให้มลภาวะลดลงอย่างเห็นได้ชัดและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลำเลียงสินค้าบนพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการจำกัดน้ำหนักสินค้าที่จะบรรทุกหรือบรรจุตู้คอนเทนเนอร์อีกด้วย สามารถศึกษาความรู้เกี่ยวกับ Logistics เพิ่มเติมได้ที่ 5 เรื่องน่ารู้ Logistics
ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ได้เริ่มมีข้อจำกัดทางการค้าออกมาเป็นมาตรการให้ผู้นำเข้าสินค้ามีความเข้มงวดในการเลือกใช้ซัพพลายเออร์ที่มีระบบ Green Logistics อีกด้วย นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องไปถึงการสร้างจิตสำนึกในการขับขี่ของพนักงานขับรถบรรทุก การจัดการใช้ประโยชน์จากการใช้เชื้อเพลิงให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุด การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงสินค้า ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ การปรับเปลี่ยนระบบการขนส่งไปสู่โหมดประหยัดพลังงาน ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน แต่อย่างไรก็ตามกระแสชิปปิ้งที่ใช้แนวคิด Green Logistics ยิ่งมาแรงมากขึ้น เมื่อมีมาตรการการนำเข้าสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องมีกระบวนการในการทำลายหรือส่งกลับคืนซากให้กับประเทศที่ส่งออก และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์และผู้ส่งออกต้องให้ความสำคัญ ตลอดจนตระหนักถึงประโยชน์ของ Green Logistics ให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งต้องเริ่มปรับตัวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตอันใกล้
นอกเหนือจากการชิปปิ้งสินค้าด้วยแนวคิด Green Logistics ที่กำลังเป็นกระแสมาแรงในอนาคตโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ผู้ประกอบการรายย่อยและธุรกิจด้าน Logistics ยังต้องมีการปรับตัวให้เข้าสู่ระบบดิจิทัล Digital Logistic เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคตเช่นเดียวกัน