นำเข้าสินค้าจากจีนทุกครั้ง จะต้องมีการเสียภาษีศุลกากรตามกฏหมาย เนื่องจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศ
กรมศุลกากรมีภารกิจหลักในการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาและส่งออกไปต่างประเทศ เพื่อนำไปพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงดูแล ป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากร
เพื่อให้การจัดเก็บภาษีอากรเป็นไปตามเป้าหมายและเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการที่สุจริต โดยการนำเข้าสินค้ามาในประเทศ จะต้องมีการเสียภาษีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้
1. ภาษีอากรขาเข้า
อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรหรือจากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร หากมีการกระทำความผิดศุลกากรจะต้องได้รับโทษตามที่กฏหมายกำหนด อ่านต่อที่ ความผิดทางศุลกากรที่พบบ่อย ในการนำเข้าและส่งออก
ของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรจัดเป็นของที่ต้องเสียอากรตามที่ศุลกากรกำหนด และยังมีของที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นอากรกรณีนำเข้าหรือส่งออก แล้วแต่กรณี ของใดที่กฎหมายกำหนดให้มีทั้งอัตราตามสภาพและอัตราตามราคา ให้คำนวณทั้ง 2 แบบ และให้ชำระอากรตามแบบที่คำนวณอากรได้สูงสุด
การชำระอากร ให้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด ปัจจุบันเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่การนำเข้า-ส่งออกบางประเภท กรมศุลกากรอนุญาตให้ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งอากรที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนเงินได้ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่หากชำระอากรไว้ขาด กรมศุลกากรมีสิทธิ์เรียกเก็บอากรที่ขาดได้ตามกำหนดเวลา
นอกจากนี้ ผู้นำของเข้า-ส่งของออกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางศุลกากร ต้องเก็บเอกสารที่ใช้ในการศุลกากรตามกำหนดไว้ 5 ปี นับแต่วันนำของเข้าหรือส่งของออก และหากเลิกกิจการต้องเก็บไว้อีก 2 ปี นับแต่วันเลิกกิจการ หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีบทลงโทษ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา
2. ภาษีสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการ ขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ รวมทั้งสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เครื่องดื่ม, เครื่องไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศและโคมระย้าที่ทำจากแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอี่นๆ ) , แก้วเลดคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่นๆ , รถยนต์, เรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ, น้ำหอม หัวน้ำหอมและน้ำมันหอม, พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์), สถานบริการ (สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ), รถจักรยานยนต์, น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน, แบตเตอรี่, สุรา, ยาสูบและไพ่
กรมสรรพสามิต มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการดังกล่าว เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
3. ภาษีเพื่อมหาดไทย
ภาษีเพื่อมหาดไทย จะต้องมีการชำระก็ต่อเมื่อต้องเสียภาษีสรรพาสามิต เพื่อนำไปจัดสรรให้กับกรุงเทพมหานคร และราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งสินค้าที่ต้องชำระภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย เช่น น้ำหอม สุรา ยาสูบ ไพ่ แบตเตอรี่ เป็นต้น สามารถคำนวนได้ดังนี้
ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย (10%)
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้าหรือผู้บริการ รวมทั้งผู้นำเข้า โดยใช้หลักการจัดเก็บแบบเดียวกันกับอากรขาเข้า คือ จัดเก็บต่อเมื่อได้มีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด สามารถคำนวนได้ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ราคา CIF + อากรขาเข้า+ภาษีสรรพสามิต+ภาษีมหาดไทย) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าผ่านบริษัทขนส่งมืออาชีพที่ได้มาตรฐานสากลอย่าง Yale Logistics ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างถูกกฏหมาย เดินพิธีการศุลกากรและชำระภาษีตามที่กฏหมายกำหนดอย่างครบถ้วน พร้อมใบเสร็จ ใบกำกับภาษี ใบขนสินค้าและ Form E สำหรับลดหย่อนภาษีจากจีน 0% โดยเอกสารทุกฉบับเป็นชื่อลูกค้าทั้งหมด จึงมั่นใจได้ว่าขั้นตอนการนำเข้าและเอกสารนำเข้าถูกต้องตามกฏหมาย หมดห่วงเรื่องถูกเก็บภาษีย้อนหลังอย่างแน่นอน
ที่มา: ธรรมนิติ/กรมศุลกากร