Shippingจีน ยุคใหม่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีนำเข้าจากจีนต่ำสุด 0% สำหรับประเทศสมาชิกในกลุ่ม ACFTA (อาเซียน-จีน) ที่ได้ทำข้อตกลงทางการค้าร่วมกัน เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ให้เหลือน้อยที่สุด และใช้อัตราภาษีที่สูงกว่าประเทศนอกกลุ่ม
นอกเหนือจาก ACFTA แล้ว ปัจจุบัน ประเทศไทยเรายังได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีร่วมกับประเทศอื่นๆ เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA เขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เพื่อสนับสนุนการส่งออกและนำเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศสมาชิก
ข้อดีคือเมื่อมีการนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศสมาชิก จะทำให้ได้รับการยกเว้นค่าภาษีตามรายการสินค้าที่ระบุไว้ในข้อตกลง อย่างไรก็ตาม กรมการค้าต่างประเทศ ได้มีการจัดอันดับประเภทของสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี 5 อันดับยอดนิยมของไทย มีอะไรบ้าง…ไปดูกันเลย
1. อาเซียน-จีน (ACFTA)
ACFTA ย่อมาจาก ASEAN-China Free Trade Agreement เป็นข้อตกลงฉบับแรกที่อาเซียนจัดทำความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาค เพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งข้อตกลงนี้ได้กลายเป็นข้อตกลงที่มีขนาดเศรษฐกิจ (GDP) รวมของประเทศสมาชิกสูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ปัจจุบันมีทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ จีน เวียดนาม และไทย
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดเพื่อลดหย่อนภาษี : Form E โดยฉบับปรับปรุงเพิ่มเติมล่าสุด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กันยายน 2562 ขอบเขตสินค้าที่ใช้ลดหย่อนภาษีนั้น เกือบทุกรายการสินค้าหรือประมาณ 8,000 กว่ารายการหรือสินค้ากว่าร้อยละ 90 ของสินค้าที่ค้าระหว่างกัน สามารถให้บริษัทที่ให้บริการ Shippingจีน เป็นผู้ดำเนินเรื่องออกเอกสารให้
สินค้าสำคัญ : แผ่นรีดเหล็กกล้า / สิ่งก่อสร้าง
2. เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
อาเซียน (AFTA หรือ ASEAN Free Trade Area) คือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และประเทศกลุ่ม CLMV คือกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดเพื่อลดหย่อนภาษี : Form D มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 17 พ.ค. 2553 ซึ่งมีการปรับปรุงจากข้อตกลงทางการค้าเดิม คือ ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนที่เคยใช้มาตั้งแต่ปี 2536
สินค้าสำคัญ : ข้าวโพด / รถยนต์ / ของผสมของสารที่มีกลิ่นหอม
3. อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)
AJCEP ย่อมาจาก ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาคระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ครอบคลุม 4 ประเด็นๆ หลักๆ คือ การเปิดเสรีการค้า, กฎเกณฑ์ทางการค้า, การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษกิจในด้านต่างๆ ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ลาว พม่า สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และกัมพูชา
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดเพื่อลดหย่อนภาษี : Form AJ มีผลบังคับใช้ในไทยมาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สินค้าสำคัญ : แผ่นรีดชนิดเชื่อมตะเข็บทำด้วยเหล็กกล้า / ตัวก่อ-เร่งปฏิกิริยา
4. อาเซียน-เกาหลี (AKFTA)
AKFTA ย่อมาจาก ASEAN-Republic of Korea Free Trade Agreement เป็นข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี โดยมุ่งขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพื่อให้ประเทศภาคีความตกลงณ สามารถลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาให้น้อยลง ปัจจุบัน ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเกาหลี
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดเพื่อลดหย่อนภาษี : Form AK มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 โดยสินค้าปกติสามารถลดหย่อนภาษีได้ต่ำสุด 0% จากจำนวน 90% ของสินค้าทั้งหมด อาทิ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ ยางรถยนต์ กากน้ำตาล น้ำตาลดิบ เส้นด้าย ฯลฯ
สินค้าสำคัญ : น้ำมันปิโตรเลียม / แผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้าไม่เจือ
5. อาเซียน-อินเดีย (AIFTA)
AIFTA ย่อมาจาก ASEAN-INDIA Free Trade Agreement เป็นข้อตกลเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-อินเดีย ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยมีการปรับลดภาษีให้ต่ำลง และเพื่อเป็นศูนย์ให้เกิดการค้าเสรีได้ในที่สุด ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดเพื่อลดหย่อนภาษี : Form AI มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 โดยอินเดียให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าเกือบทุกรายการหรือประมาณ 4,731 รายการ ส่วนไทยให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าเกือบทุกรายการเช่นกันหรือ 4,761 รายการ ยกเว้นสินค้าชา กาแฟ มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง รถยนต์ หนังฟอก เหล็กและผลิตภัณฑ์
สินค้าสำคัญ : พริกแห้งไม่บดและไม่ป่น / มันฝรั่ง / ทอลายขัด
ที่มาข้อมูล : กรมการค้าต่างประเทศ