Shipping จีน 3 วิธี ในการชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมศุลกากร

Shipping จีน 3วิธี_Yale shipping จีน Shipping จีน 3 วิธี ในการชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมศุลกากร 3             Yale 768x402

Shipping จีน ตามติดความเคลื่อนไหว เมื่อกรมศุลกากรอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับการชำระภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียม

ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าสินค้าควรรู้ โดยปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี ดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1 ชำระด้วยตัวเอง ผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้า (Shipping จีน) สามารถชำระเงินค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมศุลกากรได้ด้วยตัวเองที่หน่วยรับชำระเงินทุกที่ของกรมศุลกากร โดยสามารถชำระเป็น

1.1 เงินสดหรือบัตรภาษี

1.2 บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต

– บัตรเดบิตไม่เสียค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ

– บัตรเครดิตของทุกธนาคาร อัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ เป็นไปตามที่ทางธนาคารได้กำหนดเอาไว้

1.3 เช็ค (Cheque) ของผู้ประกอบการ จะต้องมีธนาคารค้ำประกันและได้รับการอนุมัติจากกรมศุลกากร อาจจะจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็คหรือดราฟท์ก็ได้ อย่างไรก็ตาม เช็คส่วนตัวนั้น จะไม่สามารถนำมาชำระภาษีอากรของกรมศุลกากรได้ ในขณะที่การสั่งจ่ายสามารถทำได้โดย

– การสั่งจ่าย ต้องขีดคร่อม และขีดฆ่าคำว่า ‘ผู้ถือ’ ออก

– ให้สั่งจ่ายในชื่อของ

                ‘กรมศุลกากร (พักรายได้) โดย… (ชื่อผู้นำของเข้า/ผู้ส่งของออก/อื่นๆ) …’

                กรณีที่เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้เป็น

                ‘The Customs Department (Suspension) by …(name of importer/exporter or etc.)…’ (ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 19/2552 ลงวันที่ 9 เมษายน 2552)

                ห้ามสั่งจ่ายค่าภาษีรวมกับค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการศุลกากร

– การสั่งจ่ายค่าธรรมเนียม ให้สั่งจ่าย ‘กรมศุลกากร โดยชื่อผู้นำเข้า/ผู้ส่งออก…………………’

เมื่อได้ชำระเงินแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ ณ หน่วยการเงินจะออกใบเสร็จรับเงิน กศก.122 การแก้ไข หรือขอจำลองใบเสร็จรับเงิน ต้องมายื่นคำร้องขอดำเนินการกับหน่วยงานที่รับชำระค่าภาษีอากร

 

วิธีที่ 2 การชำระเงินในระบบ e-Payment เป็นการชำระเงินค่าภาษีอากรพร้อมกับการส่งข้อมูลใบขนสินค้า เพื่อตัดบัญชีธนาคารของผู้นำของเข้า (Shipping จีน) ผู้ส่งของออก หรือตัวแทนออกของตามที่ได้แจ้งชื่อ ‘ธนาคารเพื่อการขอชำระภาษีอากร และ/หรือ ขอคืนเงินอากร’ ไว้ในทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากร

ผู้นำของเข้า (Shipping จีน) ผู้ส่งของออก หรือตัวแทนออกของที่มีชื่อในใบขนสินค้า สามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรผ่านระบบ e-Tracking โดยจะได้ใบเสร็จรับเงิน กศก.123

ขั้นตอนของการชำระค่าภาษีอากรผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) สามารถดำเนินการ ได้ดังนี้

ผู้ประกอบการ จะต้องเปิดบัญชีและแจ้งความประสงค์ขอใช้บริการ e-Payment / e-Guarantee กับธนาคารศุลกากร ถัดมาให้ทำการแจ้งชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีที่ต้องการใช้ชำระอากรและ/หรือขอคืนเงินอากรกับกรมศุลกากร โดยยื่นแบบคำขอลงทะเบียนหมายเลข 1 และแบบแนบ จ (สำหรับการลงทะเบียนครั้งแรก) หรือแบบคำขอหมายเลข 7 และแบบแนบ จ (สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนแล้ว)

ขั้นตอนที่ 1 ส่งข้อมูลใบขนสินค้าและแจ้งความประสงค์ขอชำระภาษีอากรผ่าน e-Payment

Payment Method/Guarantee Method = H ระบุข้อมูลในช่องดังนี้

  • Customs Bank Code
  • Bank Code
  • Bank Branch Code
  • Bank Account Number

ขั้นตอนที่ 2 ทางกรมศุลกากรรับข้อมูลและแจ้งไปยังระบบธนาคาร

ขั้นตอนที่ 3 ธนาคารจะทำการตัดบัญชีเงินฝากและแจ้งกลับมาที่ระบบกรมศุลกากร

ขั้นตอนที่ 4 ทางกรมศุลกากรให้เลขที่รับชำระในใบขนสินค้า

ขั้นตอนที่ 5 พิมพ์ใบเสร็จรับเงินจากระบบ e-Tracking เป็นใบเสร็จรับเงิน กศก.123 หรือร้องขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรพิมพ์ให้โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม

 

วิธีที่ 3 ชำระเงินในระบบ e-Bill Payment ต้องใช้เอกสารตามที่กรมศุลกากรกำหนด จะมี QR Code หรือ Bar Code หรือเลขอ้างอิงตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารนั้น เพื่อนำไปชำระเงินค่าภาษีอากรได้ที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร หรือ Internet Banking หรือ ATM หรือช่องทางการชำระเงินอื่นๆ ของธนาคารหรือผ่านตัวแทนรับชำระเงินที่ได้ทำข้อตกลงกับทางกรมศุลกากรเอาไว้ ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 และบิ๊กซี

ผู้นำของเข้า (Shipping จีน) ผู้ส่งออก หรือตัวแทนออกของ สามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรผ่านระบบ e-Tracking โดยจะได้รับใบเสร็จรับเงิน กศก.123

เพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและดูซับซ้อนเหล่านี้ สามารถใช้บริการกับ YaleLogistics มากด้วยประสบการเรื่องการนำเข้าสินค้าจากจีน (Shipping จีน) อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ให้บริการในเรื่องการนำเข้าสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการเดินเอกสาร การชำระภาษีนำเข้าสินค้า หรือแม้แต่ Form-E เพื่อลดหย่อนภาษี ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเอกสารทุกใบนั้นเป็นชื่อของลูกค้าทั้งหมด ลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบย้อนหลัง ผู้ประกอบการและร้านค้าออนไลน์ต่างไว้ใจในบริการ

อ้างอิงข้อมูล : กรมศุลกากร

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *