Shipping 7 คำศัพท์และความหมายเกี่ยวกับลักษณะของธุรกิจ

Shipping 7 คำศัพท์และความหมายเกี่ยวกับลักษณะของธุรกิจ shipping Shipping 7 คำศัพท์และความหมายเกี่ยวกับลักษณะของธุรกิจ 12 768x402

Shipping เมื่อพูดถึงเรื่องการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) เรามักจะคิดว่าเป็นการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์แบบออนไลน์ระหว่างผู้จัดจำหน่ายกับลูกค้าเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวคิดนี้จะมีความถูกต้องอยู่บ้าง แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถแบ่งโมเดลทางธุรกิจอีคอมเมิร์ซออกได้เป็น 7 ประเภทเชียวนะ

แต่ละประเภทก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน Yalelogistics รวบรวมข้อมูลมาให้คุณแล้ว

1. B2B (Business-to-Business)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการให้กับธุรกิจด้วยกัน หรือ E-commerce ที่ครอบคลุมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสินค้าหรือบริการ ที่ดำเนินการระหว่าง บริษัทผู้ผลิต(B) และ(to) ผู้ค้าส่งแบบดั้งเดิม (B) หรือ ‘ทำธุรกิจโดยขายสินค้า/บริการ ให้กับลูกค้า ที่เป็นลูกค้าองค์กร ไม่ใช่คนธรรมดาเป็นรายบุคคล’ ยกตัวอย่างธุรกิจ B2B ได้แก่

  • บริษัทผลิตสินค้าขายส่ง รับจ้างผลิตสินค้า OEM
  • บริษัทเอเจนซี บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ/ด้านกฎหมายให้องค์กร
  • บริษัทซอฟต์แวร์ประเภทองค์กรอาคารสำนักงานให้เช่า
  • บริษัทให้บริการ Shipping
  • แพคเกจทัวร์สำหรับองค์กร เป็นต้น                                                                                                                                                                                                    

2 . B2C (Business-to-Consumer)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการ เป็นการดำเนินการระหว่าง บริษัทผู้ผลิต(B) และ(to) ผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความโดดเด่นในการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจแบบออนไลน์ ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค สอดคล้องกับการค้าปลีกของอีคอมเมิร์ซ

ปัจจุบันการค้าประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่าย และมีร้านค้าออนไลน์หลายแห่งบนแพลตฟอร์มโซเชียลมิเดีย โดยปกติเราจะคุ้นเคยกับบริษัท B2C กันดีเพราะเป็นสินค้า/บริการที่เข้าถึงผู้บริโภครายบุคคล ยกตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่

  • ประเภทสินค้า อาทิ  เสื้อผ้าแฟชั่น , ร้านอาหาร, ขายน้ำดื่ม, ขายสบู่แชมพู เป็นต้น
  • ประเภทบริการ อาทิ อพาร์ทเมนต์, สปา, ฟิตเนส, สถาบันกวดวิชา, บริษัททัวร์, Shipping เป็นต้น

3 . C2B (Consumer-to-Business)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการ เป็นการดำเนินการระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ E-commerce ประเภทนี้ คือการติดต่อจาก ลูกค้า(C) เข้ามาหา ธุรกิจ(B) เป็นที่นิยมมากในการวางแผนเพื่อที่จะสามารถทำให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของตน สามารถขายให้กับบริษัทที่กำลังหาบริการหรือผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ตัวอย่างธุรกิจ C2B ได้แก่ เว็บไซต์ที่นักออกแบบเสนอโลโก้ให้บริษัท เป็นต้น ในปัจจุบันมีอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในการค้าประเภท C2B คือตลาดที่ขายภาพถ่าย, สื่อ, องค์ประกอบในการออกแบบที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ เช่น IStockphoto หรือ Pixabay เป็นต้น

4 . C2C (Consumer-to- Consumer)

หมายถึง ผู้บริโภคกับผู้บริโภค คือการทำธุรกิจที่ติดต่อกันโดยตรงระหว่าง ‘ลูกค้ารายย่อยที่ซื้อขายกันเอง ประเภทนี้จะครอบคลุมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสินค้า/บริการ ที่ดำเนินการระหว่างผู้บริโภค โดยทั่วไปธุรกรรมเหล่านี้จะดำเนินการผ่านทางบุคคลที่สาม 

จุดเด่นของธุรกิจลักษณะนี้คือ แต่ละคนจะเป็นเจ้าของสินค้าและเปิดร้านค้าของตนเอง แต่เนื่องจากปริมาณสินค้ายังน้อยอยู่ จึงไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนทำ E-business ดังนั้น จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือมีตัวแทนรวบรวมเจ้าของสินค้ารายย่อยเหล่านี้ไว้ด้วยกัน แล้วจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้คอยบริการ เช่น สร้างโฮมเพจ จัดการระบบเก็บเงิน และระบบส่งของให้ คล้ายๆ กับกิจกรรมเปิดท้ายขายของตามสถานที่ต่างๆ ตัวอย่างของระบบ C2C ได้แก่ โฮมเพจของ Thai.com ที่อนุญาตให้เราเข้าไปเปิดร้านค้าย่อยบนอินเทอร์เน็ตได้

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของ E-business ระบบ B2B และ B2C ดูเหมือนว่าจะเห็นผลมากกว่าระบบ C2C เนื่องจากระบบ มีปริมาณสินค้ามาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนต่ำ แต่ได้รับผลประโยชน์สูง เช่น ebay.com

5 . B2B2C (Business-to-Business-to-Consumer)

หมายถึง ธุรกิจกับธุรกิจ สู่ผู้บริโภค B2B2C เป็นรูปแบบอีคอมเมิร์ซ ที่รวมเอา ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และ ธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) สำหรับการทำธุรกรรมผลิตภัณฑ์/บริการที่สมบูรณ์ B2B2C เป็นกระบวนการทำงานร่วมกัน ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วคือ การสร้างผลิตภัณฑ์/บริการ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ซึ่ง C หรือ Customer นั้น ก็คือลูกค้าตัวจริง เช่น ธุรกิจให้บริการนำเข้าสินค้า และใช้บริการ ธุรกิจขนส่ง Shipping ส่งสินค้าใปยังลูกค้าของธุรกิจให้บริการนำเข้าสินค้า เป็นต้น

โดย C ของธุรกิจ ก็อาจจะเป็น Buyer หรือฝ่ายจัดซื้อ Influencer หรือผู้ที่มีอำนาจในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อ Decision Maker คือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจซื้อ อาจเป็นคนระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร เจ้าของบริษัทหรือแม้แต่ CEO Gate Keeper ซึ่งหมายถึง เลขาฯ เจ้านายระดับผู้บริหารหรือ CEO แม้แต่ฝ่าย Operator ก็ถือว่าเป็น Gate Keeper ได้เช่นกัน สุดท้ายคือ User หรือผู้ใช้งานสินค้านั้นจริงๆ

6 . B2A (Business-to-Administration)

หมายถึง ธุรกิจ (B) กับ หน่วยงานรัฐ (A) ในส่วนนี้จะครอบคลุมธุรกรรมทั้งหมด ที่ดำเนินการแบบออนไลน์ระหว่างบริษัทกับหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านต่างๆ เช่น การคลัง การประกันสังคม การจ้างงาน เอกสารทางกฎหมาย การลงทะเบียน ฯลฯ ซึ่งการให้บริการประเภทนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและมีการลงทุนใน E-government ด้วย 

7 . C2G (Consumer-to-Government)

คือ กลุ่มบุคคล(C) กับ หน่วยงานรัฐ(G) เป็นรูปแบบที่ครอบคลุมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ที่จัดทำขึ้นระหว่างบุคคลและหน่วยงานรัฐ เช่น การเผยแพร่ข้อมูล การศึกษาทางไกล การชำระเงิน และการยื่นแบบแสดงรายการภาษี เป็นต้น