ชิปปิ้งจีน ทำไมจีนถึงเป็นผู้นำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก หลัง COVID-19

ชิปปิ้งจีน ทำไมจีนถึงเป็นผู้นำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก หลัง COVID-19-Yalelogistics ชิปปิ้งจีน ชิปปิ้งจีน ทำไมจีนถึงเป็นผู้นำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก หลัง COVID-19                                                                                                                                                                         COVID 19 Yalelogistics 768x402

ชิปปิ้งจีน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีความปั่นป่วนจากการระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งจีนอยู่ในฐานะผู้นำในการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ได้รับผล กระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดครั้งนี้

 จนทำให้ค่า GDP ของจีนหดตัวลง 6.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ค่า GDP ลดลงมากถึง 39.2% ในมณฑลหูเป่ยซึ่งเป็นศูนย์กลางของการระบาด

         อย่างไรก็ตาม แม้จีนได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เป็นส่วนใหญ่ แต่เศรษฐกิจดูเหมือนจะกลับมาสดใสขึ้นอีกครั้ง และกำลังมองไปข้างหน้าเพื่อนำเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2020 และต่อๆ ไปให้กลับมาดีอีกครั้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้

  • การควบคุม Coronavirus ในประเทศจีน

         ประเทศจีนประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 หรือเรียกได้ว่า มีความพร้อมในการระบุและคัดแยกผู้ป่วยรายใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น ๆ

         หลังจากที่ไวรัสเกิดขึ้นครั้งแรกในปลายปี 2562 การแพร่ระบาดของโรคได้กระจายอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคมและต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นจุดพีคของ COVID-19 ที่พบในจีน หลังจากที่รัฐบาลออกมายอมรับเกี่ยวกับไวรัส จากนั้นได้ตอบสนองด้วยมาตรการที่แข็งแกร่งเพื่อลดการแพร่กระจาย โดยใช้มาตรการกักกันอย่างเข้มงวด การเว้นระยะห่างทางกายภาพและการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อติดตามการแพร่กระจายของไวรัส จนเจ้าหน้าที่ของจีนสามารถควบคุมไวรัสไว้ได้ โดยจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่รายงานมีความเสถียรเพียงแค่ 80,000 คนในปลายเดือนกุมภาพันธ์และขณะนี้มีน้อยกว่า 1,000 ราย อันเป็นผลให้ธุรกิจส่วนใหญ่ได้เริ่มเปิดให้บริการ รวมถึงในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการระบาด 

         การผลิตในประเทศจีน ณ ขณะนี้ กลับมาอยู่ที่ประมาณ 80% ของระดับปกติ หลังจากโรงงานได้เปิดทำการอีกครั้งและคนงานได้กลับมาทำงานตามปกติ รวมทั้งมีการเปิดเขตเศรษฐกิจหลักอย่างกว่างโจวและการคมนาคมขนส่งหลังจากผ่อนคลายมาตรการการควบคุมโรค ซึ่งอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งในประเทศและข้ามประเทศ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าจากจีนผ่านบริษัทชิปปิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีโกดังสินค้าตั้งอยู่ที่กว่างโจว อาทิ Yale Logistics จึงสามารถทำการขนส่งได้สะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งการที่ E-Commerce ได้รับความนิยมสูงขึ้นในช่วง COVID-19 ทั้งได้รับการยืนยันแล้วว่า การนำเข้าสินค้าจากจีนไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส จึงทำให้การขนส่งและชิปปิ้งจีนได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

         แม้ว่าโรค COVID-19 จะกลับมาระบาดใหม่ แต่จีนได้มีการจัดการกับการระบาดของโรค ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถแยกการระบาดใหม่ได้ เช่น ทำการทดสอบไวรัสในสถานที่ทำงาน โรงเรียนและที่อื่น ๆ รวมทั้งเปิดตัวแอปสมาร์ทโฟนที่ใช้ในการติดตามสถานะสุขภาพของผู้ใช้ เป็นต้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตอบสนองต่อผู้ป่วยรายใหม่ได้รวดเร็ว แต่ในทางตรงกันข้ามหลายประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ กำลังเผชิญกับไวรัสที่เลวร้ายที่สุดและกลยุทธ์ที่รัฐบาลบางแห่งใช้ ก็อาจขยายการแพร่กระจายให้เพิ่มขึ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา COVID-19 แพร่กระจายอย่างจริงจังในเดือนมีนาคมและขณะนี้มีมากกว่าหนึ่งล้านรายในประเทศ บางรัฐเริ่มมีการควบคุมมากขึ้น บางรัฐมีการล็อคดาวน์ ส่วนรัฐอื่น ๆ กำลังวางแผนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีความเข้มงวดมากพอ จึงมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่องและคาดว่าการระบาดที่เลวร้ายที่สุดในสหรัฐอเมริกาจะยาวนานกว่าในจีนอย่างแน่นอน

  • นโยบายเศรษฐกิจที่เตรียมพร้อม

         แม้ว่า COVID-19 จะทำลายเป้าหมายทางเศรษฐกิจระยะสั้นของจีนไปบ้าง แต่รัฐบาลก็ยังคงมีเป้าหมายที่ท้าทายสำหรับปีต่อๆ ไป โดยก่อนหน้าที่ COVID-19 จะเกิดขึ้น นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า GDP ของจีนจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 ในปี 2020 การเติบโตในอัตรานี้จะทำให้พรรคคอมมิวนิสต์บรรลุเป้าหมายในการเพิ่ม GDP ได้เป็น 2 เท่าของปี 2010 และเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของพรรคในปี 2021

         แม้ว่าการเติบโตร้อยละ 6 ไม่ได้อยู่ในแผนปี 2020 อีกต่อไป แต่ประธานาธิบดีของจีนไม่ล้มเลิกเป้าหมายที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยไม่คำนึงว่าจะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร เศรษฐกิจของจีนจะต้องเติบโตขึ้นแม้จะติดลบในไตรมาสแรกไปจนถึงปลายปี 2020 ก็ตาม นอกจากนี้ จีนยังมีแนวโน้มที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจประกาศในการประชุมรอบ 2 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคมนี้ โดยยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เช่น เครือข่าย 5G, สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า NEV, โปรแกรมประหยัดพลังงานและนวัตกรรมอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างเศรษฐกิจของจีนในอนาคต หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนมีผลบังคับใช้ จะไม่เพียงแต่ทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้จีนเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่มีเทคโนโลยีสูงและขับเคลื่อนด้วยบริการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทศวรรษหน้าอีกด้วย

  • แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

          แนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูง เนื่องจากลักษณะที่ไม่แน่นอนของ COVID-19 และความสามารถของประเทศต่างๆ ในการควบคุมการแพร่กระจาย จากสถานการณ์ในปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงในปี 2020 ก่อนฟื้นตัวในปี 2021

          อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการประกาศใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนและเศรษฐกิจของประเทศได้เริ่มฟื้นตัว IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 1.2% ในปีนี้ ส่วนปี 2021 คาดว่าจะขยายตัว 9.2% ซึ่งเป็นผู้นำเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งหมด

           แต่ในทางตรงกันข้ามนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ส่วนใหญ่จะหดตัวลงในปี 2563 แม้ว่าสหรัฐฯจะอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลไปสู่การรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ เช่น แพคเกจทางการเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 และขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2021 ส่วนกลุ่มพื้นที่ประเทศที่ได้ตกลงจะใช้เงินสกุลยูโรเป็นสกุลเงินร่วมจะลดลง 7.5% ในปี 2020 ก่อนที่จะกลับมาอยู่ที่ 4.7% ในปีหน้า ส่วนอินเดียเป็นเพียงประเทศเดียวที่ IMF คาดว่าจะมีการเติบโตในเชิงบวกในปีนี้ โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.9% จึงหมายความว่าจีนและอินเดียเป็นประเทศเศรษฐกิจหลัก ที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเป็นบวกหลังสิ้นปี 2020

          อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดการฟื้นตัวของโลกจะขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลทั่วโลกในการจำกัดการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการตอบสนองด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดในอนาคตและทำให้ให้ประเทศต่างๆ สามารถเริ่มกลับมาเปิดธุรกิจได้ อ่านต่อที่ จับตา..สถานการณ์ COVID-19 ต่อตลาดขนส่งตู้คอนเทนเนอร์

ที่มา: www.china-briefing.com

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *