ชิปปิ้ง ที่มาที่ไปของรถบรรทุก ขนส่งสินค้า

ชิปปิ้ง ที่มาที่ไปของรถบรรทุก ขนส่งสินค้า-Yale Logistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ที่มาที่ไปของรถบรรทุก ขนส่งสินค้า                                                                                                                         Yale Logistics 768x402

ชิปปิ้ง ปัจจุบันโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมขนส่งทั่วโลก และหนึ่งในรูปแบบการขนส่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย คือ ‘การขนส่งทางรถบรรทุก’

ด้วยความได้เปรียบของเส้นทางคมนาคม จึงทำให้การขนส่งทางบกมีความรวดเร็วและ

สะดวกสบายกว่าการขนส่งรูปแบบอื่นๆ

        ในอดีต ก่อนที่การคมนาคมและการขนส่งทางรถบรรทุกจะมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายนั้น ได้มีการพัฒนาคุณภาพการขนส่งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 ที่มีการใช้รถบรรทุกสินค้าเป็นครั้งแรก ในขณะนั้นเป็นเพียงรถยนต์ที่ดัดแปลงมาใช้แทนรถม้าลาก เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าปริมาณน้อยและระยะทางเพียงสั้นๆ 

        ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อุตสาหกรรมรถบรรทุกในสหรัฐอเมริกาได้เติบโตขึ้น ทำให้เห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงของรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถใช้จุสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้นสำหรับการขนส่งในคราวเดียว

        ปี ค.ศ. 1920 รถบรรทุกมีการพัฒนาโดยการใช้ยางรถแบบสูบลมและมีปรับปรุงถนนหนทาง ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของรถบรรทุกได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้บริษัทขนส่งด้วยรถบรรทุกเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากข้อบกพร่องบางอย่างของรถไฟ

        จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1930 ภาคอุตสาหกรรมการผลิต สินค้าคงคลังจำนวนน้อยและธุรกิจเชิงพาณิชย์ได้รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนรถบรรทุก แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การขนส่งทางรถบรรทุกระหว่างเมืองมีจำนวนลดลง เนื่องจากมีความยากลำบากในการใช้ยานพาหนะ น้ำมันเบนซินและยางรถยนต์ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นยังกีดกันการใช้ยานพาหนะในช่วงสงคราม 

         แต่อย่างไรก็ตามหลังสงครามสงบ การขนส่งทางรถบรรทุกได้กลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง ทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราค่าระวางรถบรรทุกสูงขึ้น รวมทั้งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การปรับปรุงทางหลวงและความนิยมการใช้บริการขนส่งทางรถไฟลดลง กอปรกับความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจ ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเอื้อให้มีการขยายตัวของยานยนต์เพิ่มมากขึ้น

          มูลนิธิขนส่ง ENO (The Eno Transportation Foundation) รายงานว่า ในปี 1997 รถบรรทุกขนส่งสินค้าระหว่างเมือง ทั้งรถบรรทุกส่วนตัวและให้เช่าในสหรัฐอเมริกา สามารถบรรทุกได้สูงถึง 1,051 พันล้านตัน/ไมล์ (1,691 ตัน/กม.) คิดเป็น 29.1% ของทั้งหมดในประเทศ อีกทั้ง Standard & Poor บริษัทบริการทางการเงินในสหรัฐอเมริกาได้ประมาณการณ์ไว้ว่าในปี 1997 จะมีการใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุกถึง 372 พันล้านดอลล่าห์ (81.3% ของค่าขนส่งสินค้าของประเทศ) ส่วนการขนส่งระหว่างเมืองและรถบรรทุกในท้องถิ่นที่ขนส่งสินค้าคิดเป็น 6.7 พันล้านตัน (60% ของระวางบรรทุกภายในประเทศทั้งหมด)ซึ่งในปีเดียวกันนี้ได้มีการก่อตั้งสมาคมรถบรรทุกแห่งสหรัฐอเมริกา (American Trucking Associations : ATA) โดยรถบรรทุกกว่า 19.84 ล้านคันถูกใช้งานในสหรัฐอเมริกาเพื่อประโยชน์ทางการค้า (ยกเว้นที่ใช้งานโดยรัฐบาลและชุมชนเกษตรกรรม) คิดเป็น 25.7% ของรถบรรทุกทั้งหมดถูกใช้สำหรับธุรกิจและกิจกรรมส่วนตัว นอกจากนี้ระบบทางหลวงสหรัฐ (The Federal Highway Administration) ยังได้รายงานว่า รถบรรทุกที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของจำนวน 1.97 ล้านคัน ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมรถบรรทุกให้เช่าจะมีลักษณะเป็นบริษัทที่ส่วนมากเป็นบริษัทขนาดเล็ก แต่บางบริษัทก็มีขนาดใหญ่พอสมควร

          ในปี 1998 กระทรวงคมนาคมสหรัฐอเมริก (United States Department of Transportation : USDOT หรือ DOT) ระบุว่า มีผู้ให้บริการรถบรรทุกถึง 458,634 ราย ส่งผลให้มีการจ้างงานด้านรถบรรทุกเพิ่มมากขึ้น อีก 1 ปีต่อมา มีผู้ผลิตรถบรรทุกในสหรัฐฯ เป็นจำนวนถึง 7,423,375 ล้านคันหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของการผลิตรถบรรทุกทั่วโลกรวม 16,600,988 คัน ซึ่งเท่ากับว่าอุตสาหกรรมผลิตและการให้บริการรถบรรทุกในสหรัฐฯ เติบโตและแข็งแกร่งมากที่สุดในโลก

         ส่วนผู้ผลิตรถบรรทุกรายใหญ่อื่นๆ เรียงตามลำดับ ได้แก่ ญี่ปุ่น (จำนวนการผลิต 1,904,298 คัน ), แคนาดา (1,398,305 คัน), จีน (1,218,878 คัน), เกาหลีใต้ (518,004 คัน), เม็กซิโก (499,894 คัน), สเปน (480,021 คัน), ฝรั่งเศส (405,019 คัน), อิตาลี (405,019 คัน), อิตาลี (352,656 คัน) , บราซิล (253,766 คัน), รัสเซีย (228,000 คัน), สหราชอาณาจักร (180,802 คัน), อินเดีย (138,393 คัน), แอฟริกาใต้ (107,506 คัน) และไต้หวัน (105,290 คัน) จะเห็นได้ว่า การขนส่งทางรถบรรทุกนั้นมีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

        สำหรับการขนส่งทางรถบรรทุกในปัจจุบัน นอกจากจะใช้ขนส่งสินค้าระหว่างเมืองแล้ว ยังนิยมใช้ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะการชิปปิ้งหรือนำเข้าสินค้าจากจีน ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมทางบกให้เลือกใช้ได้หลายสาย จึงสะดวกรวดเร็วกว่าการขนส่งทางเรือ และมีราคาที่ถูกกว่าการขนส่งทางเครื่องบิน (รู้ข้อดี-ข้อจำกัด ก่อนใช้บริการขนส่งทางรถ

         บริษัทนำเข้าสินค้าจากจีนอย่าง Yale Logistics ให้บริการขนส่งทางรถแบบไม่เต็มตู้ (LCL) โดยผู้นำเข้าไม่ต้องเหมาตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่ง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มากและใช้ระยะเวลาในการขนส่งเพียง 3-5 วัน พร้อมมีเอกสารนำเข้าครบถ้วนถูกต้องครบถ้วนและถูกกฎหมาย เดินพิธีผ่านศุลกากรเสร็จสรรพ ติดตามสถานะสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงหรือสอบถามผ่าน Call Center ได้ทุกวันตั้งแต่ 9.00-18.00 น.

ที่มา: whitenies

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *