ชิปปิ้ง Logistics อาชีพมาแรงของคนยุคใหม่

ชิปปิ้ง Logistics อาชีพมาแรงของคนยุคใหม่-yalelogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง Logistics อาชีพมาแรงของคนยุคใหม่ Logistics                                                                    yalelogistics 768x402

ชิปปิ้ง หนึ่งในธุรกิจด้าน Logistics ที่กำลังมาแรง เนื่องมาจากการสื่อสารที่ไร้พรมแดนและไร้ขีดจำกัดในยุคปัจจุบัน 

ได้เข้ามามีบทบาทในโลกของการทำธุรกิจและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ส่งผลให้การติดต่อทำธุรกรรมต่าง ๆ สะดวกสบายมากขึ้น จึงทำให้ตลาดแรงงานด้านนี้เติบโตตามไปด้วย

     เห็นได้จากตำแหน่งงานด้าน Logistics  ยังคงครองอันอับ 2 ของอาชีพที่มีความต้องการมากที่สุด รองจากอาชีพด้านการแพทย์ที่เป็นอันดับ 1 จากการจัดอันดับสาขาอาชีพในเว็บไซต์ JobBkk ประจำปี 2018-2019 และประเทศไทยยังติดอันดับประเทศที่มีคุณภาพด้าน Logistics สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและอันดับ 32 ของโลก  งานด้าน Logistic เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าเป็นงานเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ธุรกิจชิปปิ้ง หรือการดำเนินการพิธีทางศุลกากร เป็นต้น ซึ่งได้กลายเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจไปแล้ว โดยหัวใจสำคัญคือการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการด้านบริการ รวมไปถึงการบริหารทรัพยากรให้คุ้มค่า ซึ่งผู้ที่ทำงานด้านนี้จึงจำเป็นต้องมีความรู้ด้าน Logistics ความรู้ทางคอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศ ซึ่งในหลายสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดสอนหลักสูตรเหล่านี้โดยตรง อ่านเพิ่มเติมที่ 7 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ปริญญาโทโลจิสติกส์

     สำหรับตำแหน่งที่เป็นที่รู้จักในสายงานนี้แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ อาชีพฝ่ายขนส่ง อาชีพฝ่ายซัพพลายเชน (Supply Chain) และโลจิสติกส์ (Logistics)  ตลอดจนอาชีพเกี่ยวกับฝ่ายจัดซื้อ  ซึ่งมีหลากหลายตำแหน่ง และเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมาก ประกอบด้วย

อาชีพฝ่ายขนส่ง

   –  เจ้าหน้าที่ประสานงานขนส่ง (Logistics Coordinator) ทำหน้าที่ดูแลในด้านการควบคุม การวางแผนและประสานงานระหว่างฝ่ายขายกับผู้ส่งของให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าตรงตามเวลาและได้รับความพึงพอใจสูงสุด รวมทั้งทำหน้าที่วางแผนต้นทุนการขนส่งด้วย

   –   ผู้จัดการแผนกคลังสินค้าและการจัดส่ง วางแผนการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปและบริหารสินค้าคงคลังให้เป็นไปตามระเบียบ ควบคุมการดำเนินงานรับเข้าและเบิกจ่ายสินค้าภายในคลังให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ประสานงาน กำกับดูแลงานจัดส่งสินค้าตั้งแต่การวางแผน คัดเลือกตัวแทนขนส่งและควบคุมต้นทุนการขนส่ง

อาชีพฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ (Supply Chain and Logistics)

   –  ผู้จัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Manager) ทำหน้าที่จัดการห่วงโซ่อุปทาน ประสานงานด้านโลจิสติกส์ในทุกด้านของห่วงโซ่อุปทานไม่ว่าจะเป็นแผนหรือยุทธศาสตร์ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ การให้บริการและการขนส่ง การผลิต การขนส่งและโลจิสติกส์และระบบคืนสินค้า นอกจากนี้ยังให้คำปรึกษาและคำแนะนำเพื่อปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า

   –  นักวิเคราะห์โลจิสติกส์ (Logistics Analyst) ทำหน้าที่วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อลดต้นทุนด้านบริหารคลังสินค้า วัตถุดิบ สินค้าหลังการผลิต และการขนส่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับสินค้าตรงตามเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ โดยจะวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน สนับสนุนงานบริการและการผลิต รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ

อาชีพเกี่ยวกับฝ่ายจัดซื้อ 

   –   ฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing) ทำหน้าที่จัดซื้อสินค้าและบริการจากผู้ขาย (Supplier) ด้วยการจ่ายเงินตามที่ราคากำหนดไว้จากผู้ให้บริการ ให้ได้ราคาที่สอดกับปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งการจัดส่งที่ตรงเวลาตามสถานที่ที่กำหนดไว้

   –  ฝ่ายจัดหา (Procurement) ตำแหน่งระดับบริหาร ทำหน้าที่ตั้งแต่กระบวนการซื้อโดยศึกษาความต้องการ หาแหล่งจัดซื้อและการคัดเลือกผู้ส่งมอบสินค้า การเจรจาต่อรองราคาและกำหนดเงื่อนไขให้ตรงตามความต้องการ รวมไปถึงการติดตามการจัดส่งเพื่อให้ได้รับสินค้าตรงเวลา

       สายงานด้าน Logistics และตำแหน่งงานเหล่านี้ล้วนเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีรายได้ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังสามารถต่อยอดอาชีพได้อีกหลายแขนง เช่น งานด้านวิศวกรรม งานด้านสารสนเทศหรือธุรกิจขนส่งชิปปิ้ง ที่กำลังมาแรง และได้รับความสนใจในยุคดิจิทัลนี้ แต่หากคุณมีไฟอยากเป็นนักธุรกิจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ 9 เรื่องที่ ต้องรู้ก่อนเริ่มธุรกิจ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *