นำเข้าสินค้าจากจีน ความผิดทางศุลกากรที่พบบ่อย ในการนำเข้าและส่งออก

นำเข้าสินค้าจากจีน ความผิดทางศุลกากร Yale Logistics นำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีน ความผิดทางศุลกากรที่พบบ่อย ในการนำเข้าและส่งออก                                                                                                            Yale Logistics 768x402

นำเข้าสินค้าจากจีน รวมทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดน เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมการขนส่ง ซึ่งจะต้องมีการเดินพิธีการศุลกากรและชำระภาษีอากรให้ถูกต้องตามกฎหมาย

หลายครั้งหลายคราที่มีการกระทำความผิดทางศุลกากร หลายคนถูกปรับเป็นเงินจำนวนมากและมีโทษทางกฎหมายอยู่บ่อยครั้ง โดยความผิดที่พบเจอได้บ่อยแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

       1. การลักลอบหนีศุลกากร

           ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร คือ การนำเข้าหรือส่งออกของที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากร ของควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นของที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียภาษี รวมทั้งของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดก็ตาม กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้สูงสุด คือให้ริบของที่ลักลอบหนีและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคารวมภาษีอากรหรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับต่อการกระทำความผิด 1 ครั้ง

       2. การหลีกเลี่ยงภาษีอากร

          ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร การนำ-ส่งออกของที่ต้องชำระภาษีอากร โดยผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเจตนาที่จะไม่จ่ายค่าภาษีอากรหรือจ่ายในจำนวนที่น้อยกว่าที่ต้องจ่าย เช่น สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา หรือชนิดสินค้าเป็นเท็จ เป็นต้น ดังนั้นผู้นำเข้า-ส่งออกที่จงใจหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกหนึ่งกระทง

           กฎหมายศุลกากรจึงได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้สูงสุด คือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีและปรับเงินเป็น 4 เท่าของราคารวมภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ กล่าวคือ ปรับ 4 เท่าของภาษีที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด (ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนไว้เป็นของแผ่นดิน

       3. การสำแดงเท็จ

          ความผิดฐานสำแดงเท็จ คือการสำแดงใดๆ ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่ไม่ตรงกับเอกสารหลักฐานและข้อเท็จจริง ซึ่งมีหลายลักษณะ ได้แก่

          –          การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราวหรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรที่เป็นเท็จหรือกำกวมหรือชักนำให้หลงผิดในรายการใดๆ ก็ตาม

          –          การไม่ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายด้วยความสัตย์จริง

          –          การไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาบันทึกเรื่องราว ทะเบียน สมุดบัญชี เอกสาร หรือตราสารอื่นๆ ที่กฎหมายศุลกากรกำหนดไว้

          –          การปลอมแปลงหรือใช้เอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอื่นหลังจากที่ทางราชการออกให้แล้ว

          –          การปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานศุลกากร ซึ่งพนักงานศุลกากรใช้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

          การกระทำเหล่านี้ถือเป็นความผิด แม้ว่าผู้กระทำจะมีเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ โทษสูงสุดกำหนดให้ปรับเงินไม่เกิน 50,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

      4. นำเข้าหรือส่งออกของต้องห้ามและของต้องกำกัด

          ของต้องห้าม คือ ของที่กฎหมายห้ามมิให้นำเข้า-ส่งออก เช่น วัตถุลามก ของที่แสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ของละเมิดลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

          ของต้องกำกัด คือ ของที่นำเข้า-ส่งออกได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตหรือต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกจากกระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลาก ใบรับรองการวิเคราะห์หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น

          โทษสูงสุดของผู้กระทำผิด 1 ครั้ง คือ ให้ริบของต้องห้ามและของต้องกำกัดและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคารวมภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ

      5. การฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร

         ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าแต่ละครั้ง ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กฏหมายกำหนด เพื่อให้การบริการและการควบคุมจัดเก็บภาษี ตลอดจนการดำเนินงานเป็นไปอย่างเรียบร้อย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร มีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน เช่น การปฏิบัติพิธีศุลกากรผิดท่า การขอยื่นปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบบใบขนสินค้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง เป็นต้น

         ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับตามกฎหมายกำหนดในมาตรานั้นๆ หากไม่ได้กำหนดไว้ตาม พรบ ศุลกากร 2469 มาตรา 119 กำหนดโทษไว้ไม่เกิน 50,000 บาท

          ดังนั้น ผู้ประกอบการที่นำเข้า-ส่งออกสินค้าด้วยตนเอง จะต้องระมัดระวังและมีความรอบคอบในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน หรือผู้ที่ใช้บริการกับบริษัทชิปปิ้งหรือบริษัทขนส่งต่างๆ จะต้องเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและโทษทางกฎหมาย สามารถศึกษาวิธีเลือกบริษัทขนส่งเพิ่มเติมได้ที่ 5 เทคนิค ในการเลือกใช้บริการโลจิสติกส์ที่ได้คุณภาพ

         Yale Logistics บริษัทนำเข้าสินค้าจากจีน ที่มีประสบการณ์การนำเข้ามาอย่างยาวนาน พร้อมทีมงานมืออาชีพ ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย  เดินพิธีการผ่านศุลกากรพร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง เอกสารทุกฉบับเป็นชื่อของลูกค้าทั้งหมด สามารถจัดทำใบ From E เพื่อลดใช้หย่อนภาษีนำเข้าได้ สะดวก ปลอดภัย มั่นใจ ไม่ต้องกังวลถูกเก็บภาษีย้อนหลัง 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *